หัวข้อ   “ ความเชื่อมั่นรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ หลังปรับใหญ่ ครม.
ประชาชน 47.6% เห็นว่าโฉมหน้า ครม. ประยุทธ์ 3 ดูดีกว่าชุดเดิม
65.8% ระบุภาพลักษณ์ ครม. ชุดใหม่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือจากสายตาต่างประเทศได้
66.1 % เชื่อมั่นต่อทีมเศรษฐกิจที่นำโดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
54.1 % เชื่อว่าสภาพเศรษฐกิจไทยต่อจากนี้ไปจะปรับตัวดีขึ้นภายใต้หัวหน้าทีมเศรษฐกิจคนใหม่
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีใหม่ ภายใต้การนำ
ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “ความเชื่อมั่น
รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ หลังปรับใหญ่ ครม.”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ
18 ปีขึ้นไป จำนวน 1,201 คน จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่า
 
                  ประชาชนร้อยละ 47.6 เห็นว่า ครม. ชุดใหม่ดูดีกว่าชุดเดิม
รองลงมาร้อยละ 20.8 เห็นว่า พอๆกับชุดเดิม มีเพียงร้อยละ 4.8 เท่านั้นที่เห็นว่า
แย่กว่าชุดเดิม ส่วนร้อยละ 26.8 ไม่แน่ใจ
 
                 ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 65.8 เห็นว่าภาพลักษณ์
ครม. ชุดใหม่ที่ทหารมีบทบาทลดลงจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือจากสายตา
ต่างประเทศได้
ขณะที่ ร้อยละ 20.3 เชื่อว่าไม่ได้ และร้อยละ 13.9 ไม่แน่ใจ
 
                 เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อทีมเศรษฐกิจที่นำโดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ พบว่า ประชาชน
ร้อยละ 66.1 ระบุว่า “มีความเชื่อมั่น”
ขณะที่ร้อยละ 21.0 ระบุว่า “ไม่เชื่อมั่น” ที่เหลือร้อยละ 12.9 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                 ส่วนสภาพเศรษฐกิจต่อจากนี้ไปภายใต้การนำของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ
ประชาชนร้อยละ 54.1 เห็นว่า “จะปรับตัวดีขึ้น”
รองลงมาร้อยละ 24.8 เห็นว่า “เศรษฐกิจจะแย่เหมือนเดิม” มีเพียง
ร้อยละ 7.5 เท่านั้น ที่เห็นว่าเศรษฐกิจจะแย่ลงกว่าเดิม ที่เหลือร้อยละ 13.6 ไม่แน่ใจ
 
                  สำหรับเรื่องที่ประชาชนอยากให้ทีมเศรษฐกิจทำทันทีหลังรับตำแหน่งมากที่สุดคือ ให้ช่วยแก้ปัญหา
ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ (ร้อยละ 32.5)
รองลงมาคือ ให้ช่วยแก้ปัญหาข้าวของแพง (ร้อยละ 31.5) และให้ช่วยฟื้น
ความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว (ร้อยละ 11.3)
 
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นเกี่ยวกับ “ครม. ประยุทธ์ 3 ” ที่ปรับใหม่ครั้งนี้

 
ร้อยละ
ดูดีกว่าชุดเดิม
47.6
พอๆ กับชุดเดิม
20.8
ดูแย่กว่าชุดเดิม
4.8
ไม่แน่ใจ
26.8
 
 
             2. ความเห็นต่อภาพลักษณ์ ครม. ชุดใหม่ ที่ทหารมีบทบาทลดลงจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ
                   จากสายตาต่างประเทศได้หรือไม่

 
ร้อยละ
เชื่อว่าได้
65.8
เชื่อว่าไม่ได้
20.3
ไม่แน่ใจ
13.9
 
 
             3. ความเชื่อมั่นที่มีต่อทีมเศรษฐกิจที่นำโดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์

 
ร้อยละ
เชื่อมั่น
(โดยระบุว่า ค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 37.0 และ เชื่อมั่น ร้อยละ 29.1)
66.1
ไม่เชื่อมั่น
(โดยระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 17.8 และ ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 3.2)
21.0
ไม่แน่ใจ
12.9
 
 
             4. สภาพเศรษฐกิจต่อจากนี้ภายใต้การนำของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ

 
ร้อยละ
เศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น
54.1
เศรษฐกิจจะแย่เหมือนเดิม
24.8
เศรษฐกิจจะแย่ลงกว่าเดิม
7.5
ไม่แน่ใจ
13.6
 
 
             5. สิ่งที่อยากให้ทีมเศรษฐกิจทำทันทีหลังรับตำแหน่งมากที่สุด

 
ร้อยละ
แก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ
32.5
แก้ปัญหาข้าวของแพง
31.5
ฟื้นความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว
11.3
แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน
8.7
ปรับค่าแรง/เพิ่มรายได้
8.2
แก้ปัญหาการส่งออก
5.7
อื่นๆ อาทิ ลดราคาพลังงาน ปัญหาการว่างงาน ฯลฯ
2.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 เพื่อสำรวจความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเชื่อมั่นที่มีต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยเฉพาะความเชื่อมั่น
ต่อทีมเศรษฐกิจ ที่นำโดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 20 - 21 สิงหาคม 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 22 สิงหาคม 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
622
51.8
             หญิง
579
48.2
รวม
1,201
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
152
12.7
             31 – 40 ปี
284
23.6
             41 – 50 ปี
361
30.1
             51 – 60 ปี
251
20.9
             61 ปีขึ้นไป
153
12.7
รวม
1,201
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
780
64.9
             ปริญญาตรี
340
28.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
81
6.8
รวม
1,201
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
154
12.8
             ลูกจ้างเอกชน
249
20.7
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
573
47.7
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
62
5.2
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
113
9.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
32
2.7
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
17
1.4
รวม
1,201
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776